แหล่งความรู้

ค่อยมาอัปเดทความรู้ใหม่ๆกันนะ

Plate Bearing Test

การทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของพื้นดิน  (Plate Bearing Test)

(ทดสอบตามมาตรฐาน AASHTO T 222-81)



1.วัตถุประสงค์

เพื่อหาค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของพื้นดิน  (Bearing Capacity of Soil) ใน ตำแหน่งฐานรากของ 

Office SRT (Lam Narai Station & Bua Yai Junction Station)

2.ขอบเขตการทดสอบ 
ทำการทดสอบหาความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของพื้นดิน   (Bear Capacity of Soil)
ในระดับและตำแหน่งฐานรากของ  Office SRT จำนวน 2 จุด โดยทำการทดสอบในบริเวณหน้าและภายในอาคาร
3.เครื่องมือและอุปกรณ์
3.1 เหล็กทดสอบ (Steel Bearing Plate) ต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาด 30 เซนติเมตร หรือ 45 เซนติเมตร หรือ 60 เซนติเมตร และหนาไม่น้อยกว่า 25 มิลลิเมตร หรือแผ่นเหล็กกลมที่มีความหนาและเนื้อที่เท่ากัน
3.2 ชุดเพิ่มน้ำหนัก (Hydraulic Jack with Pressure Gauge) ต้องมีกำลังอัดไม่ต่ำกว่า 15 เมตริกตัน มีมาตรแรงกด
 (Pressure Gauge) วัดแรงที่เกิดขึ้น โดยยอมให้ผิดพลาดได้ไม่เกิน ร้อยละ 0.2 ของน้ำหนักที่เพิ่มในแต่ละช่วง พร้อมทั้งมีใบรับรองแสดงผลทดสอบ (Calibrated and Tested Report) มาแสดงก่อนใช้ชุดเพิ่มน้ำหนักดังกลาว
3.3 แคร่บรรทุกน้ำหนัก (Loading Platform) ต้องแข็งแรงและมีน้ำหนักบรรทุกมากพอที่จะให้
แรงกดได้ตลอดการทดสอบ
3.4 ให้ใช้มาตรวัดการทรุดตัว (Dial Gauge) อย่างน้อย 2 ตัว ติดตั้งไว้ในทิศทางตรงกันข้ามเพื่อวัดการทรุดตัวของแผ่นเหล็กทดสอบ และมาตรวัดค่าทรุดตัวได้ไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตรและอ่านได้รายละเอียดไม่น้อยกว่า 0.02 มิลลิเมตร หรือ 0.001 นิ้ว
4การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์
4.1 เตรียมหลุมทดสอบต้องขุดลงไปให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 4 เท่าของขนาดแผ่นเหล็ก
ทดสอบ อย่าปล่อยก้นหลุมทดสอบไว้โดยไม่สิ่งใดป้องกันความชื้นที่จะเสียไป และให้รีบ
ดำเนินการทดสอบ
4.2 การวางแผ่นเหล็กทดสอบ (Steel Bearing Plate) ให้ได้ระดับ โดยหากตำแหน่งที่จะทำการทดสอบไม่เรียบ ให้ ทำการปรับระดับด้วยทรายละเอียด
4.3 ติดตั้งชุดเพิ่มน้ำหนัก (Hydraulic Jack with Pressure Plate) ที่กึ่งกลางแผ่นเหล็ก
4.4 ติดตั้งมาตรวัดการทรุดตัว (Dial Gauge) อย่างน้อย 2 ตัว ติดตั้งไว้ในทิศทางตรงกันข้ามเพื่อวัดการทรุดตัวของแผ่นเหล็กทดสอบ และคานรับมาตรวัด (Reference Beam) แยกอิสระโดยให้ยึดติดกับเหล็ก

5.วิธีการทดสอบ
5.1 น้ำหนักสูงสุดที่ใช้ในการทดสอบจะเป็น 3 เท่า ของน้ำหนักปลอดภัยที่ใช้ในการออกแบบ
5.2 เพิ่มน้ำหนักทดสอบขั้นตอนละประมาณ 1 ใน 3 ของน้ำหนักสูงสุดที่กำหนดไว้
5.3 ก่อนเพิ่มน้ำหนักในแต่ละขั้นตอนต้องรักษาน้ำหนักไว้ไม่น้อยกว่า 3 นาที และอัดตราการทรุดตัวต้องไม่มากกว่า 0.02 มิลลิเมตร ต่อนาทีจึงจะเพิ่มน้ำหนักขั้นต่อไปได้
5.4 ในกรณีที่รักษาน้ำหนักทดสอบไว้จนครบ 3 นาที แต่อัดตราการทรุดตัวยังสูงกว่า 0.02 มิลลิเมตร ต่อนาที ให้คงน้ำหนักทดสอบนั้นไว้อีก 3 นาที หากอัดตราการทรุดตัวยังสูงกว่า 0.02 มิลลิเมตรต่อนาทีอีก ก็กระทำซ้ำจนกว่าอัดตราการทรุดตัวน้อยกว่า 0.02 มิลลิเมตร ต่อนาที และหากวัดค่าการทรุดตัวทั้งหมด (Total Settlement) ได้มากกว่า 25 มิลลิเมตร ให้ยกเลิกการทดสอบนั้น และให้ถือเป็นน้ำหนักบรรทุกสูงสุด เพื่อใช้ในการคำนวณหาค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของพื้นดินต่อไป แต่หากอัดตราการทรุดตัว ต่ำกว่า 0.02 มิลลิเมตรต่อนาที และการทรุดตัวทั้งหมด (Total Settlement) ไม่ต่ำกว่า25 มิลลิเมตร ก็ดำเนินการทดสอบขึ้นน้ำหนักบรรทุกต่อไป จนถึงน้ำหนักทดสอบสูงสุด
6. เกณฑ์การตัดสิน
6.1 ในระหว่างการทดสอบ ถ้าปรากฏว่าการทรุดตัวรวมตัวกันเกินกว่า 25 มิลลิเมตร ให้ใช้น้ำหนักทดสอบขณะนั้นเป็นน้ำหนักสูงสุด และนำไปใช้ในการคำนวณหาค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของพื้นดิน
6.2 ถ้าดำเนินการทดสอบ ถ้าปรากฏว่าการทรุดตัวรวมกันเกินกว่า 25 มิลลิเมตร และไม่แสดงลักษณะว่าถึงจุดประลัย ก็ให้ถือว่าผลการทดสอบนี้พอกับความต้องการแล้ว

การคำนวณแรงที่ใช้ทดสอบ
ความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของพื้นดินออกแบบ , q                =    20    t/m2
น้ำหนักสูงสุดที่ใช้ในการทดสอบใช้ 3 เท่า ของน้ำหนักอกกแบบ , qu        =    60    t/m2   
น้ำหนักที่ใช้กดแผ่นเหล็ก   p = qu *A       (t)
         -พื้นที่ของแผ่นเหล็ก ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร , A  =    0.07065  m2
                                       P = 60*0.07065      =  2.119    t.
ค่าแรงดันของ Hydraulic Jack ที่ใช้แรงกด, Pg
จาก Calibration equation
Actual load, (p)          (Gauge Reading, Pg) * 22.2778+143.1481
                            Pg  =  (P-143.1481) / 22.2778
                              Pg = (4239-143.1481)/ 22.2778                               = 183.85   kg/cm2
ใช้ค่าแรงดันของ Hydraulic Jack ที่ใช้แรงกดแผ่นแม่เหล็กเหล็ก Pg = 195 kg/cm2
ดังนั้นการให้แรงดันของ Hydraulic Jack แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ 65,163 และ 195 kg/cm2

รูปแสดงการติดตั้งเครื่องมือในการทดสอบ


รูปแสดง การเตรียมพื้นที่ในการทดสอบ



รูปแสดง ชุดอุปกรณ์ในการทดสอบ




รูปแสดง การติดตั้ง Dial Gauge



รูปแสดง การยุบตัวของดินภายหลังการทดสอบน้ำหนักบรรทุกของดิน


อ้างอิงโครงการ : โรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาและโครงการก่อสร้างทางรถไฟในประเทศไทย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น